มีคำถามกันมากมาย ถังสำเร็จรูป กับบ่อเกรอะซึมแบบในดีกว่ากัน

คำถามที่ถามกันมากมายในการติดตั้ง ถังบำบัดสำเร็จรูป กับบ่อเกรอะซึมแบบในดีกว่ากัน?

ถังบำบัดสำเร็จรูป กับบ่อเกรอะ บ่อซึมทำเอง  แบบไหนดีกว่า ลูกค้าที่กำลังจะสร้างบ้านหลังแรก ถ้าลูกค้าที่เคยมีบ้านหลังแรกมาแล้วในอดีตเขานิยมขุดบ่อแล้วเอาปลอกซีเมนต์วางตั้งซ้อนขึ้นมาบางบ้าน 3 ปลอก บางบ้าน 4 ปลอก แยกระหว่างซ้ายและขวาที่เรียกว่าแยกน้ำแยกกาก ให้น้ำซึมลงดิน ปัญหาที่หลายๆคนเคยเจอและประสบกันมา และมีการพูดเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวางครับ การติดตั้งบ่อเกรอะแบบให้ซึมเอง เวลาช่วงหน้าฝน มีฝนตกชุกน้ำซึมลงในพื้นดินชุ่มมาก หรือมีฝนตกน้ำท่วม อาจมีน้ำซึมเข้าไปในบ่อจนเต็ม เวลาเราราดน้ำลงไป หรือกดชักโครกลงไปลงยากมาก บางที่ก็ไม่ลง  ปรียบเทียบกับถังบำบัดหล่อเป็นชิ้นเดียวติดกัน ไร้รอยต่อ ฝังลงไปใต้ดินเหมือนกัน ลูกค้ามักพบปัญหาคือเวลาราดน้ำ หรือดกชักโครกจะมีกลิ่นออกมาด้วย ตัดปัญหาการราดน้ำไม่ลง กดชักโครกไม่ลงไปได้เลยครับ เพราะเมื่อเวลาฝนตกน้ำไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาในถังได้เลย ปัญหาส้วมเต็มบ่อยตอนหน้าฝนหายห่วงครับ ี่มีกลิ่นบ้างก็เพราะว่าเวลาราดน้ำ หรือกดชักโครกจะมีอากาศดันออกทางท่อระบายอากาศ แบบถังบำบัดสำเร็จรูป จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ จะต้องติดตั้งให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตกำหนด ขนาดของท่อระบายอากาศ การดัโค้งต่อข้องอของท่อเข้าออกต้องได้ตามมาตรฐาน อากาศดันแล้วถ่ายเทออกข้างนอกห้อง มันอยู่ที่ระดับท่อน้ำทิ้ง + SLOPE ท่อ และ การต่อท่ออากาศครับ อาจมีกลิ่นบ้าง ถังแซท มีกลิ่น ใส่แบคทีเรีย กลิ่นหายนะครับ ถ้ามีกลิ่นขณะราดน้ำ แสดงว่า การใช้งานไม่ถูกต้อง อาจจะใช้สารเคมีเทลงในโถส้วม หรือขนาดของถังบำบัดเล็กเกือนจำนวนของผู้ใช้งาน ถ้าเป็นกรณีเชื้อจุลินทรีย์ตาย ก็ให้ไปซื้อจากบริษัทที่มาติดตั้งถังบำบัดมาเติมใหม่ ที่เรียกว่า “จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์” ก็คือส่วนกากของเสียทั้งหลายจะไหลเข้ามายังท่อน้ำเข้า เข้ามาในถังบำบัด โดยส่วนของแข็งจะตกสู่ก้นถัง และถูกจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียกำจัด ยิ่งมีปริมาณจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียมากเท่าไหร่ การกำจัดของเสียก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีกลิ่นโชยออกมามากเพราะปริมาณจุลินทรีย์มาก ระยะเวลาที่จุลินทรีย์กำจัดก็จะน้อย ของเสียไม่ค้างอยู่ในถังนาน กลิ่นจึงไม่แรงมากครับ ดังนั้นของเหลวที่ผ่านออกมาจากถังบำบัด จะเป็นของเหลวที่สามารถปล่อยทิ้งออกได้ค่ะถังบำบัดน้ำเสีย จะนิยมเอานำใช้โดยมากนะครับ เพราะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะดินเหมือนกับบ่อเกรอะ (ดินเหนียว ดูดซึมยาก) การใช้งานสะดวกมากกว่า (ขุดหลุมฝัง แล้วใช้ทรายเทโดยรอบ เพื่อให้ตัวถังยืดหยุ่นกับแรงอัดของดิน) และหากมีปัญหา สามารถยกถังขึ้นมาซ่อมแซมได้ ถังบำบัดน้ำเสียแบบสำเร็จรูป เมื่อติดตั้งเสร็จใหม่ๆ ยังไม่มีจุลินทรีย์เกิดขึ้น เมื่อมีการใช้ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ให้ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ไว้ก่อนใช้งาน 7 วัน  ถ้าใช้งานตามปกติ ไม่ต้องมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์อีก เพราะตัวเชื้อจะเกิดต่อเนื่องกันไป กรณีที่มีกลิ่น อาจจะเกิดจากการใช้น้ำยาล้างขัดห้องน้ำ น้ำซักผ้า น้ำล้างจาน สารเคมี เทลงในถังหรือโถส้วม ทำให้จุลินทรีย์ตาย ให้เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไปใหม่ ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง ไม่เกิน24ชั่วโมงกลิ่นก็จะหายไป การเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ให้เปิดฝาบ่อใส่ หรือไม่สะดวกก็ใส่ที่ชักโครกแล้วกดน้ำลงไป โดยปกติก็คือประมาณกล่องเล็กที่วางขาย  หรือถ้าซื้อกระป๋องใหญ่ก็จะใช้เพียง4-5 ช้อนแกงเท่านั้น น้ำหลังจากการบำบัดปล่อยลงท่อระบายนำ้สาธารณะได้ ตัดปัญหาส้วมเต็ม ถังขนาด 1800 ลิตรก็พอใช้สำหรับบ้านขนาด 5-6 คน ติดตั้งง่าย สะดวกกว่า น้ำจากโถปัสสาวะให้ต่อท่อรวมหรือลงถังบำบัดด้วย น้ำจากอ่างล้างจานหรือครัว เครื่องซักผ้า อย่าต่อลงถังบำบัด ให้ต่อแยกลงถังดักไขมัน เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนเข้าในตัวบ้านอย่าต่อท่อระบายจากถังบำบัดลงบ่อพักเดียวกับท่อน้ำทิ้งจากห้องน้ำหรือห้องครัว สมัยนี้บ่อเกรอะบ่อซึม ที่ทำกันอยู่ ทำไม่ถูกต้องตามแบบ จะต้องมีการฉาบปูนขัดมันในบ่อเกรอะ  รอบบ่อซึมต้องใส่ถ่าน    แต่สมัยนี้ทำแค่เอาปลอกคอนกรีตมาวางซ้อนกันแล้วยาแนวยึดติดไว้เฉยๆ น้ำใต้ดินซึมเข้ามาได้ ทำให้การย่อยสลายไม่ได้ผล เกิดการสะสมกากตะกอนจนเต็มอย่างรวดเร็วครับ…ขอบคุณ pantip.com/topic